การรักษารากฟัน เรื่องใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม เพื่อสุขภาพช่องปากที่แข็งแรง
เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่มองข้ามเรื่องของรากฟันไป แม้มีอาการปวดฟัน เสียวฟัน หรือฟันผุก็ไม่ยอมเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เกิดการอักเสบ กลายเป็นหนองที่รากฟัน เจ็บปวดทรมานและไม่สามารถอุดฟันได้อีก ที่สำคัญลุกลามไปฟันซี่อื่นเสียตามไปด้วย จะดื่มหรือกินอะไรลำบากไปหมด ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามปัญหาฟันโดยเฉพาะเรื่องการรักษารากฟัน เพื่อสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงดื่มกินได้สะดวก
การรักษารากฟัน คืออะไร ทำไมต้องรักษาด้วย?
ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับรากฟันสักเล็กน้อย ซึ่งการรักษารากฟัน คือ กระบวนการที่ช่วยกำจัดเชื้อที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กใจกลางฟันให้ออกไป โดยที่เชื้อเหล่านี้มีผลทำให้เกิดปัญหารากฟันอักเสบ ติดเชื้อ และหากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายก็ต้องรักษาและทำความสะอาดอย่างทันท่วงที ไม่ให้มีเชื้อโรคใดหลงเหลือ และทำการซ่อมแซมอย่าง บูรณะตัวฟัน หรืออุดคลองรากฟัน คืนความแข็งแรงและสวยงามให้ฟันใช้งานได้เหมือนเดิม และหากรักษาถูกวิธี เหมาะสมไม่จำเป็นต้องถอนฟันเลย
โดยเหตุผลที่ต้องรักษารากฟันไว้ ก็เพื่อให้ผู้ป่วยยังคงมีฟันใช้เคี้ยวอาหาร หรือกลับมาเคี้ยว มาดื่มเครื่องดื่มได้อย่างดี ไม่ปวด หรือเสียวฟัน สามารถกัดอาหารได้อย่างเต็มที่ ฟันกลับมาสวยงามได้อีกครั้ง ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นลุกลาม และไม่ทำร้ายฟันซี่อื่น ๆ ด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหารากฟันมาจาก
- ปัญหาโรคเหงือก
- นอนกัดฟันแบบรุนแรงเกินไป
- ฟันผุมาก
- เคี้ยวข้าวอย่างรุนแรง หรือกัดเค้นฟันมาก ๆ จึงเป็นการรบกวนโพรงประสาทฟัน เกิดอาการร้าว และเชื้อโรคแทรกซึมเข้าไปได้ในที่สุด
- ฟันได้รับการกระทบกระเทือนจนทำให้แตกหักชนิดที่รุนแรงไปยังโพรงประสาทฟัน
รากฟันมีวิธีการรักษาอย่างไร?
การรักษารากฟันนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. รักษาด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน
วิธีการจะเริ่มต้นผ่าตัดเข้าไปที่ปลายรากฟันที่เป็นหนอง แล้วตัดปลายรากฟันบางส่วนออกไป ปัจจุบันเพิ่มการมองเห็นคลองรากฟันที่ค่อนข้างเล็กได้ชัดเจนด้วยกล้องจุลศัลยกรรม เมื่อทันตแพทย์เห็นก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สุดท้ายทำการอุดวัสดุเข้าไปปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้เรียบร้อยแล้ว
2. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
วิธีการคือทันตแพทย์จะวัดความยาวของคลองรากฟันของคุณก่อน จากนั้นก็ทำการเอกซเรย์แล้วใช้ File รักษารากฟันซึ่งจะมีขนาดเล็กมาก ทำความสะอาดด้วยการกำจัดแบคทีเรียและเนื้อเนื้อที่มีปัญหาในคลองรากฟัน สุดท้ายวัสดุอุดคลองรากอุดเอาไว้ แน่นอนว่าต้องขยันทำความสะอาดเชื้อในโพรงประสาท รวมถึงคลองรากฟันทันตแพทย์จึงยังไม่อุดอย่างถาวรให้
การเตรียมตัวและขั้นตอนการรักษารากฟันที่ควรรู้
ใด ๆ แล้วก่อนที่เราจะเข้ารับการรักษารากฟันจำเป็นต้องเตรียมตัวให้ดีก่อน แรกเริ่มเลยคือพบทันตแพทย์เพื่อประเมินอาการว่ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทมากน้อยแค่ไหน และดูว่าฟันสามารถทำครอบฟันได้หรือไม่ ซึ่งต้องเข้าใจถึงปัจจัยความเสี่ยงในการรักษาด้วย อย่างบางคนแพ้ยาช้าก็อาจจะต้องปรับแผนไปบ้าง หรือหลังรักษาแล้วอาจเสี่ยงติดเชื้อได้ ถ้าการรักษาอยู่ใกล้เส้นประสาทมากเกินไปมีโอกาสที่ริมฝีปากจะชาได้ด้วย
โดยขั้นตอนการรักษานั้น เริ่มจากทันตแพทย์ฉีดยาชาร่วมกับใช้ยาชาแบบแผ่นไปที่เหงือก จากนั้นใช้แผ่นยางบาง ๆ แยกฟันที่มีปัญหาออกจากซี่อื่น ต่อมาก็จะเริ่มกำจัดเอาเชื้อที่อักเสบ เสียหาย หรือที่ผุมาก ๆ ออกไปลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน แล้วทำความสะอาดรากฟัน และเริ่มใส่น้ำยาลงในคลองรากฟัน สุดท้ายเพื่อป้องกันติดเชื้อซ้ำด้วยการปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดแบบชั่วคราว
อาการข้างเคียงหลังจากรักษารากฟันมีหรือไม่?
ต้องบอกเลยว่าหลังจากที่ทันตแพทย์รักษารากฟันให้เรียบร้อยแล้ว จะมีอาการเจ็บใหม่ ๆ ในช่วง 2 – 3 วันแรก เหงือกจะค่อนข้างบวม แต่ไม่นานอาการเจ็บจะทุเลาลงไปเอง จนสุดท้ายก็หายเป็นปกติ อาจกินยาแก้ปวดช่วยด้วยก็ได้ กับอีกกรณีคืออาการปวดมีนานมากกว่าปกติ อาจเกิดจากการทำความสะอาดช่วงคลองรากฟันไม่สะอาด แล้วไปขยายคลอง อุดที่รากฟันไม่หมด รวมถึงฟันแตกทำให้ต้องรื้อและทำการรักษาใหม่อีกครั้ง
หลายคนอาจจะอยากรู้ว่าการรักษารากฟันเจ็บไหม?
แน่นอนว่าเจ็บอยู่แล้ว เพราะรากฟันมีเส้นประสาทเพื่อหล่อเลี้ยงฟัน แต่จะเจ็บมากหรือน้อยบอกไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับลักษณะซี่ฟัน ซึ่งจำนวนซี่ฟันของแต่ละคนที่แตกต่างกัน แต่ระหว่างทำมียาชาให้อยู่แล้วจึงไม่รู้สึกเจ็บอะไรมาก อาจมีตึง ๆ ไปบ้าง ซึ่งหากใครอยากจัดฟันแต่มีปัญหาเรื่องรากฟันต้องจัดการให้เสร็จก่อน เพราะถ้าฟันติดเชื้อ ลุกลาม มีผลต่อการเคลื่อนที่ของฟัน ทำให้ฟันซี่มีปัญหามากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ฟันเป็นสิ่งมีค่าแม้การรักษาจะค่อนข้างราคาสูงแต่ก็ยังดีกว่าต้องถอนทิ้งไปดื้อ ๆ เกิดปัญหาฟันห่าง ฟันล้ม บดเคี้ยวอาการลำบากกว่าเดิมไปอีก
อย่างไรก็ดี การรักษารากฟันควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แนะนำให้กินยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างครบถ้วน กินอาหารอ่อน ๆ ในช่วง 1 – 2 วันหลังทำการรักษา ไม่ควรบดเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะเหนียวหรือแข็งเพราะจะทำให้ฟันเปราะบางแตกง่ายแม้จะทำครอบฟันหรือใส่เดือยก็ตาม ทั้งนี้ ควรดูแลรักษาความสะอาดช่องปากเป็นประจำ พร้อมติดตามผลการรักษาทุก ๆ 6 เดือนด้วย
สนใจสอบถามบริการ รักษารากฟัน
หากคุณสนใจบริการรักษารากฟัน สามารถทักหาเราโดยคลิกปุ่ม "ปรึกษาทันตแพทย์" เพื่อพูดคุย/ปรึกษา/สอบถามรายละเอียดบริการ หรือนัดวันเพื่อเข้ารับบริการที่คลินิก เจริญเมือง (ซี.เอ็ม) ทันตกรรม
contact us
คลินิก เจริญเมือง (ซี.เอ็ม) ทันตกรรม
คลินิก เจริญเมือง (ซี.เอ็ม) ทันตกรรม
เลขที่ 617/9 อาคารเลิศกิตติ ถนนเจริญเมือง
ตำบลหนองป่าครั่ง
อำเภอเมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่
50000